[แก้] เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ระหว่างเเม่น้ำออบ(Ob)เเละเเม่น้ำเยนีเซย์(Yenesey) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำเเข็งเเละหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะเเข็งตัวเป็นน้ำเเข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่ค่อยสะดวก ลำน้ำเเละพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้ จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบางมาก
[แก้] เขตภูเขาเเละที่ราบสูง(หินใหม่)
เขตนี้ประกอบด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ เป็นเขตที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงเเละที่ราบสูงมากมาย เริ่มากตอนกลางของทวีป ที่เป็นจุดศูนย์รวมของเทือกเขา เรียกว่า ปาร์มีนอต เเล้วจึงเเผ่ไป 2 ทาง คือทางทิศตะวันออกเเละทางทิศตะวันตก ซึ่งระหว่างเทือกเขาสูง ก็จะมีที่ราบสูงอยู่ตรงกลาง ที่ราบสูงระหว่างภูเขาที่สำคัญ เช่น ที่ราบสูงยูนนาน ที่ราบสูงทิเบต ในประเทศจีน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกี ที่ราบสูงอิหร่าน ในประเทศอิหร่าน เป็นต้น
ทางทิศตะวันออกจะเเผ่ไปได้อีก 3 ทาง คือ
ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาเทียนชาน(Tian Shan) ทิวเขาอัลไต(Altai) ทิวเขายาโบลโนวี(Yablonovy) เเละทิวเขาสตาโนวอย(Stanovoy)
ทางตะวันออก ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาการาโกรัม(Karakoram) ทิวเขาคุนหลุนชาน(Kunlun Shan) เเละทิวเขาหนาน(Nan)
ทางตะวันออกเฉียงใต้ ทิวเขาที่สำคัญ คือ เทือกเขาหิมาลัย ต่อจากเทือกเขาหิมาลัย คือ เทือกเขาอาระกันโยมา(ในประเทศพม่า)จากนั้นก็ทอดตัวลงทะเล ไปถึง เกาะสุมาตรา เกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย จนถึง หมู่เกาะฟิลิปปินส์ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกหินใหม่ อาจทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด หรือ เเผ่นดินไหวได้ บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่ค่อนข้างอันตราย เเต่ขณะเดียวกัน บริเวณนี้กลับมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาเเน่น เพราะความอุดมสมบูรณ์จากภูเขาไฟ(เฉพาะหมู่เกาะฟิลิปปินส์เเละหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย)
ทางทิศตะวันตกเเละตะวันตกเฉียงใต้ ทิวเขาสำคัญ คือ ทิวเขาฮินดูกูช(Hindukush) ทิวเขาสุไลมาน (Sulaiman) ทิวเขาซากรอส (Zagros) เเละ ทิวเขาคอเคซัส (Caucasus)
เทือกเขาเเละที่ราบสูงตอนกลางจะมีความสูงจากทางตะวันตก เเล้วค่อยๆลาดต่ำลงทางตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ความสูงของพื้นที่ตอนกลาง เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้พื้นที่ตอนในของทวีปเกิดความเเห้งเเล้ง เเละกลายเป็นทะเลทรายได้ เช่น ทะเลทรายโกบี ในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีทะเลทรายกระจายตัวทั่วไปใน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อิหร่าน มองโกเลีย เป็นต้น
ยินดีต้อนรับ
ยินดีต้อนรับประตูแห่งความรู้ แก่...เด็ก....ทุกคน
วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553
ทวียเอเซีย
ทวีปเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย มีเขตแดนที่คลุมเครือโดยเฉพาะเขตต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป ทวีปเอเชียกับแอฟริกาบรรจบกันที่ใดที่หนึ่งใกล้กับคลองสุเอซ (Suez Canal) ในอียิปต์ แนวเขตแดนระหว่างเอเชียกับยุโรปผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) ทะเลมาร์มารา (Sea of Marmara) ช่องแคบบอสโพรัส (Bosporus) ทะเลดำ (Black Sea) แนวสันเขาบริเวณเทือกเขาคอเคซัส (Caucasus) (บางคนว่าผ่านทะลุแอ่งคูมา-มานิช - Kuma-Manych Depression) ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) แม่น้ำอูราล (Ural River) (บางคนว่าผ่านแม่น้ำเอมบา - Emba River) และเทือกเขาอูรัล (Ural Mountains) ถึงหมู่เกาะโนวายาเซมเลีย (Novaya Zemlya) เอเชียมีประชากรราว 60% ของประชากรโลก
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค (ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค) ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่ คือ ภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่แยกออกจากอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ลักษณะภูมิประเทศ
1.1 เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
1.2 เขตภูเขาเเละที่ราบสูง(หินใหม่)
1.3 เขตที่ราบสูงเก่า
1.4 เขตที่ราบลุ่มเเม่น้ำ
1.5 เขตหมู่เกาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้เเละตะวันออก
2 ที่สุดในทวีปเอเชีย
3 การแบ่งภูมิภาค
3.1 เอเชียเหนือ
3.2 เอเชียกลาง
3.3 เอเชียตะวันออก
3.4 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.5 เอเชียใต้
3.6 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
4 รายชื่อประเทศ
4.1 ประเทศที่มีการเปลี่ยนชื่อ
5 ประชากรของทวีปเอเชีย
6 ความหนาแน่นของประชากร
7 เศรษฐกิจของทวีปเอเชีย
7.1 เอเชียตะวันออก
7.2 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7.3 เอเชียใต้
7.4 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
7.5 เอเชียกลาง
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค (ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค) ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่ คือ ภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่แยกออกจากอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ลักษณะภูมิประเทศ
1.1 เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
1.2 เขตภูเขาเเละที่ราบสูง(หินใหม่)
1.3 เขตที่ราบสูงเก่า
1.4 เขตที่ราบลุ่มเเม่น้ำ
1.5 เขตหมู่เกาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้เเละตะวันออก
2 ที่สุดในทวีปเอเชีย
3 การแบ่งภูมิภาค
3.1 เอเชียเหนือ
3.2 เอเชียกลาง
3.3 เอเชียตะวันออก
3.4 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.5 เอเชียใต้
3.6 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
4 รายชื่อประเทศ
4.1 ประเทศที่มีการเปลี่ยนชื่อ
5 ประชากรของทวีปเอเชีย
6 ความหนาแน่นของประชากร
7 เศรษฐกิจของทวีปเอเชีย
7.1 เอเชียตะวันออก
7.2 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7.3 เอเชียใต้
7.4 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
7.5 เอเชียกลาง
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris
ขนาด หัวถึงลำตัว 168 - 227 เซนติเมตร หาง 94 - 118 เซนติเมตร น้ำหนัก 180 - 245 กิโลกรัม
รูปร่างลักษณะเสือโคร่งเป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเสือ ลำตัวมีสีเทาแกมเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง แต่ละตัวจะมีลายแถบปรากฎบนหลังและด้านข้างของลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอ เป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาวและมีแถบสีดำ หางมีแถบดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ไม่เคยมีรายงานเสือโคร่งดำ แต่มีรายงานเสือโคร่งเผือก เสือโคร่งตัวผู้ขนาดใหญ่อาจมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม
ถิ่นที่อยู่มีการกระจายจากแถบไซบีเรียถึงทะเลสาบแคสเปียน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา และแถบบาหลี แต่ไม่เคยมีรายงานการพบเสือโคร่งบนเกาะบอร์เนียว
พฤติกรรมเสือโคร่งชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน เสือโคร่งจึงมักอาศัยในป่าทึบอากาศเย็นและใช้พักผ่อนได้ในเวลากลางวัน เสือโคร่งชอบอาบน้ำและว่ายน้ำ ในวันที่มีอากาศร้อน เสือโคร่งใช้เวลาหลายชั่วโมงในแอ่งน้ำ เสือโคร่งไม่ชอบปีนต้นไม้ แต่ก็ปีนได้ ถ้าจำเป็น
ขนาด หัวถึงลำตัว 168 - 227 เซนติเมตร หาง 94 - 118 เซนติเมตร น้ำหนัก 180 - 245 กิโลกรัม
รูปร่างลักษณะเสือโคร่งเป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเสือ ลำตัวมีสีเทาแกมเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง แต่ละตัวจะมีลายแถบปรากฎบนหลังและด้านข้างของลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอ เป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาวและมีแถบสีดำ หางมีแถบดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ไม่เคยมีรายงานเสือโคร่งดำ แต่มีรายงานเสือโคร่งเผือก เสือโคร่งตัวผู้ขนาดใหญ่อาจมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม
ถิ่นที่อยู่มีการกระจายจากแถบไซบีเรียถึงทะเลสาบแคสเปียน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา และแถบบาหลี แต่ไม่เคยมีรายงานการพบเสือโคร่งบนเกาะบอร์เนียว
พฤติกรรมเสือโคร่งชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน เสือโคร่งจึงมักอาศัยในป่าทึบอากาศเย็นและใช้พักผ่อนได้ในเวลากลางวัน เสือโคร่งชอบอาบน้ำและว่ายน้ำ ในวันที่มีอากาศร้อน เสือโคร่งใช้เวลาหลายชั่วโมงในแอ่งน้ำ เสือโคร่งไม่ชอบปีนต้นไม้ แต่ก็ปีนได้ ถ้าจำเป็น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)